วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

การอาชีพ

การอาชีพ  หมายถึง รูปแบบการดำรงชีวิตของมนุษย์เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือรายได้  เพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีวิต

อาชีพอิสระ
อาชีพอิสระ  หมายถึง อาชีพที่ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของ  หรือดำเนินการด้วยตนเอง  คิดตัดสินใจและวางแผนด้วยตนเองทุกเรื่อง เช่น ขายอาหาร ขายของชำ  ขายเสื้อผ้า  เลี้ยงไก่  ปลูกผัก  เป็นต้น
 ลักษณะสำคัญของอาชีพอิสระ
1.  เจ้าของกิจการได้รับค่าตอบแทนจากลูกค้าหรือผู้บริโภค
2.  เจ้าของกิจการเป็นผู้ดำเนินการเองในฐานะผู้ปฏิบัติงาน
3.  มีผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงาน  เรียกว่า ลูกจ้าง

อาชีพรับจ้าง
อาชีพรับจ้าง  หมายถึง อาชีพที่ผู้ประกอบการไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ  เป็นเพียงผู้รับจ้างทำงาน  และได้รับค่า
ตอบแทนเป็นค่าจ้างหรือเงินเดือน

ข้อดี : ไม่ต้องมีเงินลงทุน  และไม่ต้องเสี่ยงกับการขาดทุน

ข้อด้อย : งานที่ทำส่วนมากซ้ำซาก  จำเจ  เหมือนกันทุกวันต้องปฏิบัติตามกฎของนายจ้างอย่างเคร่งครัด 




คุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ

คุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ
คุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ  คือสมรรถนะที่โดดเด่นในอาชีพนั้นๆ  ซึ่งประกอบด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ความมุ่งมั่นในการทำงาน  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมอันดีงามของสังคมไทย
                สมรรถนะ คือ  ความรู้  ความเข้าใจ  ความสามารถ  ความชำนาญพฤติกรรมที่เหมาะสมในการทำงานของบุคลากร  และอุปกรณ์  หรือเครื่องมือต่างๆที่จำเป็นในการทำงาน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการประกอบอาชีพ มี 3 ด้าน คือ
          ด้านคุณธรรม
          ด้านจริยธรรม
          ด้านค่านิยม
ด้านคุณธรรม   ผู้ประกอบการจะต้องมีคุณธรรมประจำใจที่สำคัญ 7 ประการ

1.  ซื่อสัตย์สุจริต
2.  ขยันหมั่นเพียร
3.  มีความรับผิดชอบ
4.  มีความละเอียดรอบคอบ
5.  ตัดสินใจอย่างฉลาดและมีเหตุผล
6.  ตรงต่อเวลา
7.  เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
ด้านจริยธรรม  จริยธรรมเป็นหลักประพฤติ ปฏิบัติที่ดีงามอันสืบเนื่องมาจากการมีคุณธรรม   ผู้ที่มีคุณลักษณะที่ดีเหมาะสมกับการประกอบอาชีพ ต้องมีจริยธรรมดังนี้
1.  ทำงานเต็มความรู้ความสามารถและอุทิศเวลาให้กับงาน
2.  ไม่แก่งแย่ง  ชิงดีชิงเด่น
3.  ไม่คดโกงเอาเปรียบเพื่อนร่วมงานและผู้บริโภค
4.  ไม่หลอกลวงโดยการโฆษณาชวนเชื่อ
5.  เลือกประกอบอาชีพที่ไม่ขัดกับกฎหมายและศีลธรรม
6.  เสียภาษีอากร  ภาษีเงินได้จากการประกอบอาชีพตามความเป็นจริง
ด้านค่านิยม
ค่านิยมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ  และการประกอบอาชีพเป็นอย่างมาก
ในอดีตคนไทยส่วนใหญ่มีค่านิยมในการประกอบอาชีพรับราชการมากว่าอาชีพอิสระ  แต่ปัจจุบันค่านิยมเปลี่ยนไป
คนส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพอิสระกันมากขึ้น

เทคโนโลยีสะอาด

ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง ดังนั้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีการพิจารณาถึง ทางออกที่ลงตัวระหว่างปัญหาทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และพัฒนามาเป็นหลักการของเทคโนโลยีสะอาด (Clean(er) Technology, CT) หรือ การผลิตที่สะอาด (Clean(er) Production, CP) หรือการป้องกันมลพิษ (Pollution Prevention, P2) หรือการลดของเสียให้น้อยที่สุด (Waste Minimization) ซึ่งคำเหล่านี้มีความหมายเดียวกันในการที่จะใช้แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้ใช้แต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีสะอาด คืออะไร
            เทคโนโลยีสะอาด คือ กลยุทธ์ที่ใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบ และพลังงานในการผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต โดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดของเสียที่แหล่งกำเนิด เป็นการลดภาระในการกำจัดของเสีย  ช่วยประหยัดวัตถุดิบและพลังงาน เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน ป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกอีกทั้งเป็นการพัฒนาขีดความสามารถ และประสิทธิภาพของการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวไปสู่มาตรฐาน ISO 14000 ของอุตสาหกรรมอีกด้วย


หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
            หลักการของเทคโนโลยีสะอาดเน้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การลดการใช้พลังงาน การใช้น้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ซึ่งจะเห็นว่าหลักการของเทคโนโลยีสะอาดเป็นการป้องกันปัญหามากกว่าการแก้ปัญหานั่นเอง  โดยหลักการของเทคโนโลยีสะอาด สรุปได้ดังนี้
1.  การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งได้เป็น 2 แนวทางใหญ่ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ และการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต
1.1  การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ อาจทำได้โดยการออกแบบให้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด หรือให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

1.2  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
      1.2.1  การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ โดยการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ หรือมีความบริสุทธิ์สูง รวมทั้งลดหรือยกเลิกการใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยงการเติมสิ่งปนเปื้อนเข้าไปในกระบวนการผลิต และพยายามใช้วัตถุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
      1.2.2  การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ทำได้โดยการออกแบบใหม่ เพิ่มระบบอัตโนมัติเข้าช่วยปรับปรุงคุณภาพของอุปกรณ์ และแสวงหาเทคโนโลยีใหม่มาใช้
      1.2.3  การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน เป็นขั้นตอนที่ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เสียลดลง และยังทำให้เกิดของเสียที่จะต้องจัดการกำจัดลดน้อยลง โดยกำหนดให้มีขั้นตอนการผลิตกระบวนการงานและขั้นตอนบำรุงรักษาที่ชัดเจน รวมถึงการจัดระบบ การบริหารการจัดการในโรงงาน
2.  การนำกลับมาใช้ใหม่ แบ่งออกได้เป็น 2 แนวทาง คือ
2.1  การใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน โดยหาทางนำวัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพมาใช้ประโยชน์ หรือหาทางใช้ประโยชน์จากสารหรือวัสดุที่ปนอยู่ในของเสีย โดยนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเดิม หรือกระบวนการผลิตอื่นๆ
2.2  การใช้เทคโนโลยีหมุนเวียน เป็นการนำเอาของเสียผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อนำเอาทรัพยากรกลับมาใช้อีก หรือเพื่อทำให้เป็นผลพลอยได้
แนวทางของเทคโนโลยีสะอาด
            แนวคิดของเทคโนโลยีสะอาด คือการป้องกันมลพิษที่แหล่งกำเนิด และการลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ให้น้อยที่สุด ในการกำจัดมลพิษจากอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ โดยทำได้ตามขั้นตอนโดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้
1. การลดที่แหล่งกำเนิด      2. การใช้หมุนเวียน  
3. การบำบัด                          4. การปล่อยทิ้ง       
 การแก้ปัญหาตามแนวทางเทคโนโลยีสะอาดจะเน้นการลดที่ต้นเหตุ กล่าวคือเน้นที่การลดปริมาณการใช้ทรัพยากรลง โดยใช้ปริมาณที่พอดีและเหลือเป็นของเสียน้อยที่สุด ของเสียที่ออกมาต้องนำมาผ่านกระบวนการเพื่อจะนำกลับมาใช้ใหม่ จะทำให้ลดปริมาณของเสียและต้นทุนของการใช้สารเคมีให้น้อยลง ของเสียที่ยังคงเหลืออยู่ต้องผ่านกระบวนการบำบัดจนมีคุณสมบัติดีพอที่จะปล่อยทิ้งได้  การลดการใช้และการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จึงเป็นแนวทางหลักของเทคโนโลยีสะอาดมากกว่าการแก้โดยการบำบัดดังเช่นที่ทำกันโดยทั่วไป ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายของโรงงานอุตสาหกรรมด้วย

เทคนิคของเทคโนโลยีสะอาด
            เทคโนโลยีสะอาด จะเน้นการลดที่แหล่งกำเนิดและการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยในการทำจะต้องมีการศึกษาถึงกระบวนการผลิต เพื่อหาแนวทางที่จะปรับปรุงกระบวนการในการลดการใช้และการนำกลับมาใช้ใหม่ของพลังงาน สารเคมี หรือน้ำ
            ในการเสนอทางเลือกเทคโนโลยีสะอาด (CT option) และการดำเนินงานในการนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ มีขั้นตอนในการประยุกต์ใช้ตามหลักของเทคโนโลยีสะอาด 5 ขั้นตอน คือ
1.       การวางแผนและการจัดองค์กร (Planning & Organization)
2.       การประเมินเบื้องต้น (Pre-Assessment)
3.       การประเมินผล (Assessment)
4.       การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility)
5.       การลงมือปฏิบัติ (Implementation)

หลังจากที่มีการตัดสินใจที่จะใช้เทคโนโลยีสะอาดในอุตสาหกรรม ต้องมีการวางแผนและจัดการ มีการสำรวจข้อมูล ทำการประเมินเบื้องต้น และทำการประเมินในขั้นตอนต่อมา โดยในขั้นตอนการประเมินเบื้องต้นและการประเมินเกี่ยวข้องกับการสร้างแผนภาพกระบวนการผลิต (Process Flow Chart) พิจารณาการป้อนเข้า (Input) และการจ่ายออก (Output) ของแต่ละปฏิบัติการหน่วย (Unit operation) และสมดุลมวลสารและสมดุลพลังงานขึ้น ทำให้สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุและปริมาณของ ของเสียที่ได้จากกระบวนการผลิตเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป โดยทางเลือกที่นำเสนอต้องมีความเป็นไปได้ในทางเศรษฐศาสตร์ ไม่มีการลงทุนที่สูงเกินไป และสามารถคืนทุนได้ในระยะสั้น เมื่อวิธีการสอดคล้องกับเศรษฐศาสตร์จึงลงมือปฏิบัติการ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

 การเริ่มต้นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาด
         1.       ผู้บริหารเห็นความสำคัญและมีความมุ่งมั่น
         2.       พนักงานมีความเข้าใจ และเห็นความสำคัญ
         3.       ระบุสาเหตุ แนวโน้มของปัญหาการใช้ทรัพยากรของเสียและสิ่งแวดล้อม
         4.       ประเมินวิธีการแก้ไข ปรับปรุงโดยอาศัยความรู้แขนงต่างๆ

         5.       เริ่มดำเนินการในส่วนที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ หรือคุ้มค่าสูงสุด




การนำเทคโนโลยีสะอาดในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลกำไร รวมทั้งช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกอีกด้วย โดยหลักการที่สำคัญของเทคโนโลยีนี้ ได้แก่ การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิดและการนำกลับมาใช้ใหม่ (การใช้หมุนเวียน)